แผนที่แสดงที่ตั้ง

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การเลี้ยงกบในบ่อดิน


การเลี้ยงกบในบ่อดิน

       ใช้พื้นที่ประมาณ 100-200 ตารางเมตร ภายในคอกเป็นบ่อนํ้าลึกประมาณ 1 เมตร บางแห่งอาจจะทํ าเกาะกลางบ่อเพื่อเป็นที่พักของกบและที่ให้อาหาร แต่บางแห่งก็ใช้ไม้กระดานทํ าเป็นพื้นลาดลงจากชานบ่อก็ได้ ส่วนพื้นที่รอบ ๆ ขอบบ่อภายในที่ห่างจากรั้วคอกอวนไนลอน กว้าง 1 เมตร ปล่อยให้หญ้าขึ้น หรือบางรายอาจปลูกตะไคร้เพื่อให้กบใช้เป็นที่หลบอาศัยภายในบ่อที่เป็นพื้นน้ำจะมีพวกผักตบชวาหรือพื้ชน้ำอื่นๆให้กบเป็นที่หลบซ่อนภัยและอาศัยความร่มเย็นเช่นกัน คอกที่ล้อมรอบด้วยอวนไนลอนนี้ ด้านล่างจะใช้ถังยางมะตอยผ่าซีก หรือแผ่นสังกะสีฝังลึกลงดินประมาณ 1 ศอก เพื่อป้องกันศัตรูบางชนิด
เช่น หนู ขุดรูลอดเข้าไปทํ าอันตรายกับกบที่อยู่ในบ่อหรือในคอก ส่วนด้านบนของบ่อมุมใดมุมหนึ่ง จะมุงด้วยทางมะพร้าวเพื่อเป็นร่มเงา และยังใช้เป็นที่ให้อาหารกบอีกด้วย นอกจากนั้นบางแห่งยังใช้เสื่อรำแพนเก่าๆที่ใช้ทำเป็นฝาบ้านนำมาว่างซ้อนกันโดยมีลำไม้ไผ่สอดกลาง เพื่อให้เกิดช่องว่างให้กบเข้าไปหลบอาศัย และด้านบนนั้นก็เป็นที่รองรับอาหารที่โยนลงไปให้กบกินได้เช่นกัน




          ลักษณะบ่อเลี้ยงกบเช่นนี้ มีเลี้ยงกันมากที่อํ าเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย โดยใช้พันธุ์กบที่ซื้อมาจากนักล่ากบในท้องที่ ๆ ออกจับกบตามธรรมชาติ เป็นลูกกบขนาด 20-30 ตัวต่อกิโลกรัม ซื้อขายกันในราคา กก.ละ 20-30 บาท และจะนํ าลูกกบที่มีนํ้ าหนักรวม 100 กก.ปล่อยลงในเนื้อที่ 100 ตารางเมตร หลังจากปล่อยลูกกบแล้ว 2-3 วัน จึงเริ่มให้อาหารเพราะเมื่อปล่อยลูกกบลงเลี้ยงใหม่ ๆ ก็ยังเหนื่อยและตื่นต่อสภาพที่อยู่ใหม่ อาหารที่นํ ามาให้ไม่เป็นไปตามที่มันเคยกิน คือ เป็นปลาสับหรือปลาบดที่โยนให้กินทีละน้อย ๆ ก่อน จนกว่าลูกกบจะเคยชินและเมื่อกบโตขึ้นจึงเปลี่ยนเป็นปลาหั่นเป็นชิ้น ๆ หรือถ้าเป็นปลาเล็กก็โยนให้ทั้งตัว หรือถ้าเป็นปูนาก็ต้องเด็ดขาเด็ดก้ามทิ้งเสียก่อน หรือถ้าเป็นหอยโข่งก็ทุบเอาเปลือกออกเอาเฉพาะเนื้อใน แล้วโยนลงบนแผงที่ให้อาหารในบ่อเพื่อให้กบกินต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

LIKE

fb-comments