แผนที่แสดงที่ตั้ง

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การดูแลรักษา


การดูแลรักษา 

     นอกจากจะเอาใจใส่ในเรื่องการให้อาหาร การรักษาความสะอาดภาชนะที่ให้อาหารดังกล่าวแล้ว ในการเลี้ยงกบจะต้องคํ านึงถึงความสะอาด โดยเฉพาะในแอ่งนํ้ าหรือการเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ ต้องมีการขัดล้างถ่ายเทนํ้ าในบางครั้งทั้งนี้ถ้าที่อยู่อาศัยของกบสะอาดและมีสุขลักษณะที่ดี ความเป็นอยู่และการเจริญเติบโตของกบก็ดี ลดอัตราการเป็นโรคพยาธิเบียดเบียน แต่กบเป็นสัตว์ที่ตื่น และตกใจง่าย ซึ่งเมื่อเกิดการตกใจดังกล่าวกบจะเกิดอาการชัก เป็นตะคริวและถึงกับช็อกตายได้ หรือเมื่อเกิดตกใจก็จะกระโดดเต้นไปมาในบ่อและจะเกิดอาการกระทบกระแทก เป็นแผลฟกชํ้ าจุกแน่น จุกเสียด เมื่อเป็นมาก ๆ ก็มีโอกาสถึงตายได้เช่นกัน ดังนั้น การทํ าความสะอาดภายในบ่อเลี้ยงกบ จึงต้องระมัดระวังในเรื่องนี้


       1. งดให้อาหารกบ เพราะถ้ากบกินอาหารแล้วต้องกระโดดเต้นไปมาเพราะตกใจ เนื่องจากคนลงไปรบกวนที่อยู่อาศัย โอกาสจุกเสียดแน่นถึงตายมีมาก
       2. ควรหาวัสดุที่โปร่งเป็นโพรง เช่น ทางมะพร้าวสุมทุมเพื่อให้กบเข้าไปหลบซ่อนตัวเมอื่ เข้าไปทํ าความสะอาด โดยเฉพาะในบอ่ ซเี มนตเ์ มอื่ ปลอ่ ยน า้ํ เก่าทิ้งจนแห้ง กบจะเข้าไปหลบตัวในสุมทุมนั้น จะไม่ออกมากระโดดเต้นจนเป็นเหตุให้เจ็บป่วย
       3. หลังจากทํ าความสะอาดแล้ว อาหารมือต่อไปควรผสมยาลงไปด้วยทุกครั้งเพื่อบรรเทาการอักเสบลงได้ อนึ่ง ลักษณะการงดให้อาหารเช่นนี้จะต้องกระทํ าทุกครั้งที่มีการลํ าเลียงเคลื่อนย้ายกบ ไม่ว่าจะเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ หรือลูกกบก็ตาม ยาที่ผสมในอาหารให้กบกินนั้นถ้ามีอาการไม่รุนแรงนักก็ใช้ออกซีเตต้าซัยคลิน 1 ช้อนแกง ผสมลงในอาหาร 3 กก.เช่นกัน ทั้งนี้เพราะตัวยาแรงผิดกันและให้กบกินมื้อเดียวแล้วหยุดไปประมาณ 5-6 วัน (เฉพาะอาหารที่ผสมยา) เพื่อสังเกตดูอาการของกบว่าทุเลาลงแล้วหรือไม่ ถ้ายังไม่มีอาการดีขึ้นก็ให้อาหารผสมยาขนาดดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีก 1 มื้อ





  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

LIKE

fb-comments