แผนที่แสดงที่ตั้ง

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ประวัติการเลี้ยงกบ



การเลี้ยงกบ



        เนื่องจากสถานการณ์ความเป็นอยู่ในปัจจุบันที่มีอัตราประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นๆ และปริมาณความต้องการในการบริโภคเพิ่มขึ้นติดตามมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะเดียวกันที่ทรัพยากรธรรมชาติหรือแม้แต่ผลผลิตทางการเกษตรลดน้อยลงเป็นไปในลักษณะผกผัน โดยเฉพาะอาชีพเกษตรกรรมของพี่น้องเกษตรกรที่ต้องอาศัยความชุ่มชื้นจากธรรมชาติถึง 75%
       นอกจากนั้นแล้วยังต้องพบกับความผิดหวังเมื่อจํ าหน่ายผลผลิตไม่ได้ราคา หรือถูกพ่อค้าคนกลางกดราคารับซื้อ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นต้นเหตุที่ทํ าให้เกษตรกรต้องขวนขวายหาแนวทางในการประกอบอาชีพใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ เช่น การขุดบ่อเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบฯลฯ แต่สํ าหรับการเลี้ยงกบนั้น ปัจจุบันเป็นที่น่าสนใจแก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะกบเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ใช้เวลาน้อย ลงทุนน้อย ดูแลรักษาง่าย และจํ าหน่ายได้ราคาคุ้มกับการลงทุนและแนวโน้มการเลี้ยงกบในอนาคตนั้น กบเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งซึ่งตลาดนิยมบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น สเปน ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เยอรมัน สหรัฐอเมริกา ฯลฯ สํ าหรับผู้เลี้ยงกบหากหลีกเลี่ยงช่วงที่มีการจับกบในแหล่งธรรมชาติก็จะช่วยลดปัญหาด้านราคาตกตํ่ า แต่อย่างไรก็ตามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทํ าให้แหล่งที่อยู่อาศัยเลี้ยงตัวตามธรรมชาติของกบลดลง
       ดังนั้นแนวโน้มการเลี้ยงกบในอนาคต จึงนับได้ว่ามีลู่ทางแจ่มใส ไม่มีปัญหาด้านการจําหน่ายและราคาก็ดีมีผลคุ้มต่อการลงทุน ลงแรง สามารถส่งเป็นสินค้าออกช่วยการขาดดุลให้แก่ประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย








วิธีการทำบ่อเลี้ยง


วิธีการทำบ่อเลี้ยง

1. บ่อซีเมนต์
     นิยมใช้เลี้ยงกันทั่วไปทั้งกบนาและกบบูลฟร๊อก มีขนาดตั้งแต่ 2x 2.5x1 ลบ.ม. จนถึง 3x 4x1 ลบ.ม. บ่อกักเก็บน้ำลึก 30-50 เซนติเมตร มีหลังคาหรือสิ่งคลุมปิดบังแสงสว่างบางส่วนเพื่อทำให้กบไม่ตื่นตกใจง่ายและช่วยในการป้องกันศัตรู บ่อแบบนี้สามารถดัดแปลงนำไปใช้ในการเลี้ยงเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ เช่น การขยายพันธุ์ เลี้ยงกบเนื้อและพ่อแม่พันธุ์ การอนุบาลลูกอ๊อดและลูกกบเล็ก ความหนาแน่นที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ คือ 50-80 ตัว /ตารางเมตร กบรุ่นหรือกบเนื้อ คือ 100-120 ตัว/ตารางเมตร และลูกอ๊อด คือ 1,000-1,500 ตัว/ตาราง (ขึ้นอยู่กับขนาดของลูกอ๊อดแต่ละชนิด)



2. บ่อดิน
     ควรทำในลักษณะกึ่งถาวร โดยขุดบ่อลึกไปในดิน 50-70 เซนติเมตร ฝังท่อระบายน้ำก่อขอบบ่อด้วยอิฐบล๊อกสูง 2-3 ก้อน ด้านบนปากบ่อมีตาข่ายคลุมปิดเพื่อป้องกันนก ศัตรูธรรมชาติอื่นๆ และแมลงปอลงวางไข่ บ่อทำได้ในขนาดเดียวกับบ่อซีเมนต์โดยขึ้นอยู่กับสภาพพพื้นที่ของเกษตรกร ปัจจุบันบ่อดินมีความนิยมน้อยลงเนื่องจากมีข้อเสีย คือดูแลรักษาความสะอาดและป้องกันศัตรูได้ยาก ส่วนข้อดีคือการลงทุนต่ำและบริเวณที่มีอากาศหนาวสามารถใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กบนาข้ามฤดูกาลได้ดีกว่าบ่อซีเมนต์ อาจทำเป็นบ่อพักกบนาชั่วคราว ในกรณีที่ต้องการลดอาหารเพื่อให้กบพักตัวในช่วงฤดูหนาวก่อนไปขาย



3. บ่อซีเมนต์ชนิดกลม
     มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางบ่อเป็น 1.5 เมตร มีความสูงอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และมีฝาปิด บ่อขนาดนี้ใช้ได้ดีในการขยายพันธุ์อนุบาลลูกอ๊อดและลูกกบเล็ก ง่ายต่อการคัดขนาด แต่ไม่เหมาะสำหรับเลี้ยงกบใหญ่เนื่องจากกบจะกระโดดชนผนังและฝาที่ใช้ปิด ทำให้ปากแผลเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ถ้าจะใช้เลี้ยงกบใหญ่ ควรทำบ่อซีเมนต์ให้มีความสูงอย่างน้อย 1 เมตร การใช้ถังซีเมนต์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 1.5 เมตร ทำบ่อเลี้ยงกบทำให้กบเจริญเติบโตไม่ดี เนื่องจากบ่อมีขนาดเล็กเกินไปทำให้กบแออัด



4. การเลี้ยงในกระชัง
      ในบริเวณพื้นที่ที่มีบ่อน้ำหรือมีสระน้ำขนาดใหญ่หรือมีร่องน้ำไหลผ่านสามารถเลี้ยงกบในกระชังได้ ขนาดของกระชังไม่ควรเล็กกว่า 1 x 2 x 1 ม. หรือใหญ่กว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ที่ลอยกระชังได้ด้านบนกระชังต้อมีฝาปิดเพื่อป้องกันศัตรู ควรหมั่นตรวจดูรอยรั่วหรือขาดของกระชังอย่างสม่ำเสมอ กระชังสามารถใช้ในการเลี้ยงได้ดีตั้งแต่การอนุบาลลูกอ๊อด ลูกกบเล็กไปจนถึงใหญ่ และเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ โดยเฉพาะในการอนุบาลลูกอ๊อดกบบูลฟร๊อกจะทำให้ลูกอ๊อดโตเร็วและสมบูรณ์




พันธุ์กบที่น้ำมาเลี้ยง


พันธุ์กบที่น้ำมาเลี้ยง

          กบที่เหมาะสำหรับจะนำมาทำการเพาะเลี้ยงนี้ได้แก่ กบนา ซึ่งถ้าเลี้ยงอย่างถูกต้องตามวิธีการและใช้เวลาเพียง 4-5 เดือน จะได้กบขนาด 4-5 ตัว/กก. เป็นกบที่มีความเจริญเติบโตเร็ว โดยมีอัตราการแลกเปลี่ยนอาหาร 3-4 กก. ได้เนื้อกบ 1 กก. ทั้งยังเป็นกบที่มีผู้นิยมนํ าไปประกอบอาหารบริโภคกันมากกว่ากบพันธุ์อื่น ๆ ลักษณะของกบนานั้นตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่ากบตัวเมีย และ ส่วนที่เห็นได้ชัดก็คือ กบตัวผู้เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นมีกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถว ๆ มุมปากล่างทั้งสองข้าง ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กบตัวผู้จะเป็นผู้ส่งเสียงร้อง และในขณะที่ร้องนั้นส่วนของกล่องเสียงจะพองโตและใส ส่วนตัวเมียนั้นจะมองไม่เห็นส่วนของกล่องเสียงดังกล่าว กบตัวเมียก็ร้องเช่นเดียวกันแต่เสียงออกเบา ถ้าอยู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กบตัวเมียที่มีไข่แก่จะสังเกตเห็นส่วนของท้องบวมและใหญ่กว่าปรกติ ขณะเดียวกันที่กบตัวผู้จะส่งเสียงร้องบ่อยครั้งและสีของลำตัวออกเป็นสีเหลืองอ่อนหรือมีสีเหลืองที่ใต้ขาเห็นชัดกว่าตัวเมียถึงอย่างไรสีของกบจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสิ่งแวดล้อมและที่อยู่อาศัย

                               
  
  ความแตกต่างระหว่างตัวผู้และตัวเมีย


การเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์



การเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ 




        เป็นการเลี้ยงที่มีผู้นิยมกันมากในปัจจุบันเพราะดูแลรักษาง่าย กบมีความเป็นอยู่ดีและเจริญเติบโตดี อีกทั้งเป็นการสะดวกสบายต่อผู้เลี้ยงในด้านการดูแลรักษา บ่อกบดังกล่าวนี้สร้างด้วยการก่อแผ่นซีเมนต์ หรือที่เรียกว่าแผ่นซีเมนต์บล๊อกและฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ปูนที่ฉาบจะหนาเป็นพิเศษ ตรงส่วนล่างที่เก็บขังนํ้ า คือมีความสูงจากพื้นเพียง 1 ฟุต พื้นล่างเทปูนหนาเพื่อรองรับนํ้า และมีท่อระบายนํ้ าอยู่ตรงส่วนที่ลาดสุดพื้นที่ ๆ เป็นที่ขังนํ้ านี้ นํ าวัสดุลอยนํ้ า เช่น ไม้กระดาน ขอนไม้ ต้นมะพร้าวทิ้งให้ลอยนํ้ าเพื่อให้กบขึ้นไปเป็นที่อาศัยอยู่ บางแห่งในส่วนพื้นที่ใต้นํ้ ายังเป็นที่เลี้ยงปลาดุกได้อีก โดยปล่อยปลาดุกลงเลี้ยงร่วมกับกบในอัตรา กบ 100 ตัว ต่อ ปลาดุก 20 ตัว ซึ่งเป็นผลดีเมื่อเปรียบเทียบเห็นได้ชัดคือ ปลาดุกจะช่วยทำความสะอาดภายในบ่อโดยเก็บเศาอาหารและมูลกบกิน ทำให้นํ้ าในบ่อสะอาดและอยู่ได้นานกว่าบ่อที่ไม่ได้ปล่อยปลาดุก ซึ่งนอกจากจะเป็นการทุ่นแรงงานแล้วยังทํ าให้ผู้เลี้ยงมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย อีกทั้งระยะเวลาเลี้ยง ตลอดจนการจํ าหน่ายกบและปลาดุกอยู่ในเวลาเดียวกัน

การเลี้ยงกบในบ่อดิน


การเลี้ยงกบในบ่อดิน

       ใช้พื้นที่ประมาณ 100-200 ตารางเมตร ภายในคอกเป็นบ่อนํ้าลึกประมาณ 1 เมตร บางแห่งอาจจะทํ าเกาะกลางบ่อเพื่อเป็นที่พักของกบและที่ให้อาหาร แต่บางแห่งก็ใช้ไม้กระดานทํ าเป็นพื้นลาดลงจากชานบ่อก็ได้ ส่วนพื้นที่รอบ ๆ ขอบบ่อภายในที่ห่างจากรั้วคอกอวนไนลอน กว้าง 1 เมตร ปล่อยให้หญ้าขึ้น หรือบางรายอาจปลูกตะไคร้เพื่อให้กบใช้เป็นที่หลบอาศัยภายในบ่อที่เป็นพื้นน้ำจะมีพวกผักตบชวาหรือพื้ชน้ำอื่นๆให้กบเป็นที่หลบซ่อนภัยและอาศัยความร่มเย็นเช่นกัน คอกที่ล้อมรอบด้วยอวนไนลอนนี้ ด้านล่างจะใช้ถังยางมะตอยผ่าซีก หรือแผ่นสังกะสีฝังลึกลงดินประมาณ 1 ศอก เพื่อป้องกันศัตรูบางชนิด
เช่น หนู ขุดรูลอดเข้าไปทํ าอันตรายกับกบที่อยู่ในบ่อหรือในคอก ส่วนด้านบนของบ่อมุมใดมุมหนึ่ง จะมุงด้วยทางมะพร้าวเพื่อเป็นร่มเงา และยังใช้เป็นที่ให้อาหารกบอีกด้วย นอกจากนั้นบางแห่งยังใช้เสื่อรำแพนเก่าๆที่ใช้ทำเป็นฝาบ้านนำมาว่างซ้อนกันโดยมีลำไม้ไผ่สอดกลาง เพื่อให้เกิดช่องว่างให้กบเข้าไปหลบอาศัย และด้านบนนั้นก็เป็นที่รองรับอาหารที่โยนลงไปให้กบกินได้เช่นกัน




          ลักษณะบ่อเลี้ยงกบเช่นนี้ มีเลี้ยงกันมากที่อํ าเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย โดยใช้พันธุ์กบที่ซื้อมาจากนักล่ากบในท้องที่ ๆ ออกจับกบตามธรรมชาติ เป็นลูกกบขนาด 20-30 ตัวต่อกิโลกรัม ซื้อขายกันในราคา กก.ละ 20-30 บาท และจะนํ าลูกกบที่มีนํ้ าหนักรวม 100 กก.ปล่อยลงในเนื้อที่ 100 ตารางเมตร หลังจากปล่อยลูกกบแล้ว 2-3 วัน จึงเริ่มให้อาหารเพราะเมื่อปล่อยลูกกบลงเลี้ยงใหม่ ๆ ก็ยังเหนื่อยและตื่นต่อสภาพที่อยู่ใหม่ อาหารที่นํ ามาให้ไม่เป็นไปตามที่มันเคยกิน คือ เป็นปลาสับหรือปลาบดที่โยนให้กินทีละน้อย ๆ ก่อน จนกว่าลูกกบจะเคยชินและเมื่อกบโตขึ้นจึงเปลี่ยนเป็นปลาหั่นเป็นชิ้น ๆ หรือถ้าเป็นปลาเล็กก็โยนให้ทั้งตัว หรือถ้าเป็นปูนาก็ต้องเด็ดขาเด็ดก้ามทิ้งเสียก่อน หรือถ้าเป็นหอยโข่งก็ทุบเอาเปลือกออกเอาเฉพาะเนื้อใน แล้วโยนลงบนแผงที่ให้อาหารในบ่อเพื่อให้กบกินต่อไป

การเลี้ยงกบในกระชัง


การเลี้ยงกบในกระชัง 





    โดยใช้กระชังเลี้ยงเช่นเดียวกับกระชังเลี้ยงปลามีความกว้างประมาณ 1.50 เมตร และยาว 4 เมตร กระชังดังกล่าวนี้สืบเนื่องมาจากการเพาะพันธุ์กบ คือ เมื่อเพาะกบและเลี้ยงลูกอ๊อดจนเป็นกบเต็มวัยแล้วจึงคัดขนาดลูกกบนํ าไปเลี้ยงในบ่อซีเมนต์หรือในกระชังอื่น ๆ หรือจํ าหน่าย ส่วนที่เหลือก็เลี้ยงต่อในกระชังต่อไป พื้นที่ใต้กระชังใช้แผ่นกระดานหรือแผ่นโฟมสอดด้านล่าง เพื่อให้เกิดส่วนนูนในกระชังและกบได้ขึ้นไปอยู่อาศัยส่วนรอบ ๆภายนอกกระชังใช้วัสดุ เช่น แฝกหญ้าคา หรือทางมะพร้าว เพื่อไม่ให้กบมองเห็นทิวทัศน์นอกกระชัง มิฉะนั้นกบจะหาหนทางหลบหนีออกโดยกระโดดและชนผืนอวนกระชังเป็นเหตุให้ปากเป็นบาดแผลและเจ็บปวดจนกินอาหารไม่ได้ ส่วนด้านบนกระชังก็มีวัสดุพรางแสงให้เช่นกัน

การดูแลรักษา


การดูแลรักษา 

     นอกจากจะเอาใจใส่ในเรื่องการให้อาหาร การรักษาความสะอาดภาชนะที่ให้อาหารดังกล่าวแล้ว ในการเลี้ยงกบจะต้องคํ านึงถึงความสะอาด โดยเฉพาะในแอ่งนํ้ าหรือการเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ ต้องมีการขัดล้างถ่ายเทนํ้ าในบางครั้งทั้งนี้ถ้าที่อยู่อาศัยของกบสะอาดและมีสุขลักษณะที่ดี ความเป็นอยู่และการเจริญเติบโตของกบก็ดี ลดอัตราการเป็นโรคพยาธิเบียดเบียน แต่กบเป็นสัตว์ที่ตื่น และตกใจง่าย ซึ่งเมื่อเกิดการตกใจดังกล่าวกบจะเกิดอาการชัก เป็นตะคริวและถึงกับช็อกตายได้ หรือเมื่อเกิดตกใจก็จะกระโดดเต้นไปมาในบ่อและจะเกิดอาการกระทบกระแทก เป็นแผลฟกชํ้ าจุกแน่น จุกเสียด เมื่อเป็นมาก ๆ ก็มีโอกาสถึงตายได้เช่นกัน ดังนั้น การทํ าความสะอาดภายในบ่อเลี้ยงกบ จึงต้องระมัดระวังในเรื่องนี้


       1. งดให้อาหารกบ เพราะถ้ากบกินอาหารแล้วต้องกระโดดเต้นไปมาเพราะตกใจ เนื่องจากคนลงไปรบกวนที่อยู่อาศัย โอกาสจุกเสียดแน่นถึงตายมีมาก
       2. ควรหาวัสดุที่โปร่งเป็นโพรง เช่น ทางมะพร้าวสุมทุมเพื่อให้กบเข้าไปหลบซ่อนตัวเมอื่ เข้าไปทํ าความสะอาด โดยเฉพาะในบอ่ ซเี มนตเ์ มอื่ ปลอ่ ยน า้ํ เก่าทิ้งจนแห้ง กบจะเข้าไปหลบตัวในสุมทุมนั้น จะไม่ออกมากระโดดเต้นจนเป็นเหตุให้เจ็บป่วย
       3. หลังจากทํ าความสะอาดแล้ว อาหารมือต่อไปควรผสมยาลงไปด้วยทุกครั้งเพื่อบรรเทาการอักเสบลงได้ อนึ่ง ลักษณะการงดให้อาหารเช่นนี้จะต้องกระทํ าทุกครั้งที่มีการลํ าเลียงเคลื่อนย้ายกบ ไม่ว่าจะเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ หรือลูกกบก็ตาม ยาที่ผสมในอาหารให้กบกินนั้นถ้ามีอาการไม่รุนแรงนักก็ใช้ออกซีเตต้าซัยคลิน 1 ช้อนแกง ผสมลงในอาหาร 3 กก.เช่นกัน ทั้งนี้เพราะตัวยาแรงผิดกันและให้กบกินมื้อเดียวแล้วหยุดไปประมาณ 5-6 วัน (เฉพาะอาหารที่ผสมยา) เพื่อสังเกตดูอาการของกบว่าทุเลาลงแล้วหรือไม่ ถ้ายังไม่มีอาการดีขึ้นก็ให้อาหารผสมยาขนาดดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีก 1 มื้อ





  



LIKE

fb-comments